Page 22 - การรับนักศึกษาใหม่ 63
P. 22

ลักษณะวิชาที่ศึกษา  เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องกับ
           กลศาสตร์ ความร้อน แสง เสียง ไฟฟ้า แม่เหล็ก อิเล็กทรอนิกส์ อะตอม นิวเคลียร์ อนุภาค
           มูลฐานและดาราศาสตร์ นอกจากนี้ ยังศึกษาระเบียบวิธีการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงทางด้าน
           เครื่องเร่งอนุภาคสสารควบแน่น แสงซินโครตรอนและวัสดุนาโน และการพัฒนาความเป็น
           ผู้ประกอบการ
                 แนวทางการประกอบอาชีพ  นักฟิสิกส์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักวิชาการ อาจารย์
           ในหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานด้านอุตสาหกรรมของภาคเอกชน ตลอดจนประกอบอาชีพ
           อิสระที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและทักษะความเป็นผู้ประกอบการ หรือศึกษาต่อ
           ในขั้นสูงขึ้น ณ สถาบันการศึกษาชั้นน�าทั้งในและต่างประเทศ
                 6.  ภูมิสำารสำนเทศ
                 การจัดการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต จำ�นวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
           ไม่น้อยกว่า 181 หน่วยกิต
                 ลักษณะวิชาชีพ เน้นการศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของโลกโดยใช้เทคโนโลยี
           ที่ทันสมัย เพื่อแสวงหาข้อมูลส�าหรับน�ามาใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิจัยหรือการประยุกต์ใน
           ภารกิจต่าง ๆ ที่ต้องการ โดยเฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่หรือสถานการณ์
           ในภาพกว้าง อาทิ การวางผังเมือง/ชนบท การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม
           การจัดการปัญหาภัยพิบัติรุนแรง หรือ การศึกษาผลกระทบจากการผันแปรของสภาพ
           ภูมิอากาศ
                 ลักษณะวิชาที่ศึกษา โดยทั่วไปศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีของการส�ารวจโลกจาก
           ระยะไกลด้วยระบบที่ก้าวหน้า ทันสมัย และมีประสิทธิภาพสูง อาทิ การถ่ายภาพพื้นผิวโลก
           จากดาวเทียมหรือจากอากาศยานที่โคจรอยู่เหนือพื้นดิน รวมถึงการประยุกต์ข้อมูลที่ได้จาก
           ระบบส�ารวจดังกล่าวร่วมกับข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) ซึ่งได้มาโดยกระบวนการอื่น
           ในการศึกษาวิเคราะห์เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางภูมิสารสนเทศ ซึ่งอาจน�าไปใช้ประโยชน์
           ในการพัฒนาประเทศได้ต่อไป
                 แนวทางการประกอบอาชีพ นักวิชาการ/วิชาชีพทางด้านภูมิสารสนเทศประยุกต์
           (Applied Geoinformatics) ประจ�าหน่วยงานต่าง ๆ ของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน หรือเป็น
           อาจารย์ประจ�าสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่เปิดสอนหลักสูตรทางภูมิสารสนเทศหรือหลักสูตร
           อื่นที่สัมพันธ์กัน อาทิ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อม ผังเมือง การพัฒนาชนบท/พื้นที่
           เมือง รวมถึงการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาในศาสตร์ด้านนี้หรือศาสตร์อื่นที่สัมพันธ์กัน
           ต่อไป












       20
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27