มทส. ร่วมมือเครือข่าย SynBio Consortium ผลักดันและขับเคลื่อนนวัตกรรม-อุตสาหกรรมชีววิทยาสังเคราะห์

มทส. ร่วมมือเครือข่าย SynBio Consortium
ผลักดันและขับเคลื่อนนวัตกรรม-อุตสาหกรรมชีววิทยาสังเคราะห์
วันนี้ (11 พฤศจิกายน 2564) อาจารย์ ดร.มัลลิกา สังข์สนิท รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ นวัตกรรม และความเป็นผู้ประกอบการ ในนามผู้แทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ร่วมแสดงเจตจำนงในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เครือข่าย Thailand Synthetic Biology Consortium หรือ SynBio Consortium เชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือหน่วยงานแนวหน้าของไทยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาเพื่อร่วมผลักดันและขับเคลื่อนนวัตกรรมและอุตสาหกรรมชีววิทยาสังเคราะห์ในประเทศไทย

ทั้งนี้ เครือข่าย Thailand Synthetic Biology Consortium ริเริ่มโดย สถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม (สนอ.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อเป็นเครือข่ายแรกในประเทศไทยที่ส่งเสริมความร่วมมือในการผลักดันและขับเคลื่อนนวัตกรรมและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีววิทยาสังเคราะห์ หรือ Synthetic Biology ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ BCG ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยมีเครือข่ายความร่วมมือในระยะก่อตั้ง ได้แก่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน)


สำหรับการแสดงเจตจำนงในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่าย Thailand Synthetic Biology Consortium ในรูปแบบออนไลน์ครั้งนี้ มีขึ้นเพื่อเชื่อมโยงและขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา รวม 17 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานสภานโนยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดย การสถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร สถาบันวิทยสิริเมธี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาขน) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)บริษัท เบทาโกร จํากัด (มหาชน) บริษัท ไบโอ บัดดี้ จำกัด และ บริษัท เทสท์บัด จำกัด เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในมิติด้านงานวิจัยและพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ รวมถึงสร้างเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพทั้งหมด ที่จะร่วมผลักดันอุตสาหกรรมชีววิทยาสังเคราะห์ในประเทศ ต่อยอดไปสู่การสร้างนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูงในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ขับเคลื่อน BCG Economy Model เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างยั่งยืน
ส่วนประชาสัมพันธ์
11 พฤศจิกายน 2564
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
- มทส. พร้อมจัด “Asian Science Camp 2025” ดึง 3 นักวิทย์ฯ รางวัลโนเบล สร้างแรงบันดาลใจเยาวชนเอเชีย 22 ประเทศ หนุนสร้างเครือข่ายเยาวชนวิทย์ฯ พร้อมโชว์ศักยภาพไทยสู่เวทีโลก 04 กรกฎาคม 2568
- มทส. คว้า Silver Award พร้อมเงินรางวัล 70,000 บาท ในมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 (Thailand Research Expo 2025) 21 มิถุนายน 2568
- มทส. ติดอันดับ 9 ร่วม ของประเทศไทย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก โดย QS World University Rankings 2026 20 มิถุนายน 2568
- มทส. ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน อยู่ในอันดับ 11 ร่วมของไทย และกลุ่มอันดับที่ 401-600 ของโลก โดย THE University Impact Rankings 2025 20 มิถุนายน 2568
- มทส. ผ่านการขึ้นทะเบียนคลังหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษา 19 มิถุนายน 2568
- นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร คว้าแชมป์ระดับประเทศ ได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานฯ และโอกาสศึกษาดูงาน บริษัทเนสเล่ ประเทศสิงคโปร์ 17 มิถุนายน 2568
- อาจารย์ มทส. รับโล่เกียรติคุณ จาก BEDO นำความรู้และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพสู่ชุมชน 12 มิถุนายน 2568
- มทส.ส่งมอบโปรแกรมสนับสนุนการเรียนรู้และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และโรงเรียนนักเดินป่าระดับต้น เส้นทางเขาใหญ่-แก่งยาว 10 มิถุนายน 2568
- มทส. ต้อนรับและหารือความร่วมมือกับเอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย 09 มิถุนายน 2568
- มทส. รับรางวัล CWIE ดีเด่นระดับชาติ ปี 2568 ตอกย้ำความเป็นเลิศด้านสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานอย่างต่อเนื่อง 06 มิถุนายน 2568