E
Entrepreneurship

ก้าวให้ทันอนาคต: เส้นทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเป็นผู้ประกอบการ ตามกรอบของ OECD

ก้าวให้ทันอนาคต: เส้นทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเป็นผู้ประกอบการตามกรอบของ OECD

1

   

     มหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ (Entrepreneurial University) เป็นแนวคิดที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในบริบทของประเทศไทยที่กำลังปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างผู้ประกอบการใหม่ที่สามารถนำพานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาประเทศ มหาวิทยาลัยมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการทั้งในระดับบุคคลและระดับสังคม โดยทำหน้าที่เป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้ ทักษะ และโอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่ บทบาทของมหาวิทยาลัยไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การสอนทฤษฎี แต่ยังรวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเป็นผู้ประกอบการผ่านการสนับสนุนเชิงโครงสร้าง นโยบาย และกิจกรรมเสริมสร้างทักษะทางธุรกิจ โดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ร่วมกับ European Commission ได้พัฒนาแนวทางที่เรียกว่า “The HEInnovate Framework” เพื่อใช้เป็นกรอบนำทางสำหรับมหาวิทยาลัยที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสู่ มหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ(Entrepreneurial University) โดยเน้นการสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการอย่างครบวงจร

  • Leadership and Governance

     ภาวะผู้นำเชิงผู้ประกอบการและธรรมาภิบาลที่โปร่งใส เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมในสถาบันอุดมศึกษา โดยผู้นำต้องกำหนดให้ความเป็นผู้ประกอบการเป็นกลยุทธ์หลัก และบูรณาการสู่การเรียน การวิจัย และการถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นระบบ

  • Organisational Capacity: People, Resources, Incentives and Rewards

     ความสามารถของมหาวิทยาลัยเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้านความเป็นผู้ประกอบการ หากต้องการบรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องมีทรัพยากรหลัก เช่น บุคลากร เงินทุน ความเชี่ยวชาญ และระบบแรงจูงใจ รองรับการเติบโตของการประกอบการและนวัตกรรม

  • Entrepreneurial Teaching and Learning

     การเรียนการสอนด้านความเป็นผู้ประกอบการมุ่งใช้วิธีการและแนวทางที่หลากหลายและยืดหยุ่น เพื่อพัฒนาทัศนคติแบบผู้ประกอบการอย่างทั่วถึงและยั่งยืน แม้การสร้างสตาร์ทอัปจะเป็นเครื่องมือการสอนที่ทรงพลัง แต่การศึกษาด้านความเป็นผู้ประกอบการไม่จำกัดแค่การสร้างธุรกิจเท่านั้น ยังรวมถึงการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงและการพัฒนาทักษะที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถรับมือกับความท้าทาย เช่น ความยั่งยืนและเป้าหมาย SDGs ได้อย่างมีส่วนร่วม

  • Preparing and Supporting Entrepreneurs

     มหาวิทยาลัยสามารถส่งเสริมนักศึกษา ศิษย์เก่า และบุคลากรให้พิจารณาการสร้างธุรกิจเป็นทางเลือกอาชีพ โดยเริ่มจากการช่วยให้แต่ละคนทบทวนเป้าหมายด้านธุรกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และรูปแบบชีวิต จากนั้นจึงให้การสนับสนุนเฉพาะด้าน เช่น การพัฒนาแนวคิด ทักษะผู้ประกอบการ การสร้างทีม  การเข้าถึงแหล่งทุนและเครือข่ายที่เหมาะสม ทั้งนี้ สถาบันควรเป็นส่วนหนึ่งของระบบสนับสนุนผู้ประกอบการในระดับกว้าง ไม่ใช่ดำเนินการเพียงลำพัง

2

  • Digital Transformation and Capability

     แม้นหาวิทยาลัยหลายแห่งนี้ได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้แล้ว แต่ระดับการบูรณาการยังแตกต่างกัน มหาวิทยาลัยควรมองการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเป็นโอกาสสำคัญในการส่งเสริมนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ

  • Entrepreneurial Ecosystem and Networks

     มหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการและนวัตกรรมเชื่อมโยงกับระบบนิเวศโดยรอบอย่างเชิงรุก เพื่อสร้างประโยชน์ทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ความสามารถในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายผู้ประกอบการช่วยกระตุ้นนวัตกรรมในองค์กร ส่งเสริมการเรียนการสอนและวิจัย และยกระดับบทบาทของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำในระดับภูมิภาค

  • The Internationalised Institution

     มหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการที่ยั่งยืนจะบูรณาการมิติสากลในการออกแบบและดำเนินการด้านการศึกษา การวิจัย และการถ่ายทอดความรู้ โดยตั้งคำถามใหม่ ใช้แนวทางที่หลากหลาย และเปิดมุมมองทางความคิด พร้อมทั้งตอบโจทย์ความท้าทายระดับโลก เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการสนับสนุนระบบนิเวศของตนเอง

Contents