มทส. จับมือ สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 18 (Annual Concrete Conference 18)

มทส. จับมือ สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 18
(Annual Concrete Conference 18)
 
 
วันนี้ (25 มกราคม 2567) รองศาสตราจารย์ ดร.พรศิริ จงกล คณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) พร้อมด้วย และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพงศ์ มกระธัช นายกสมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดการจัดประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 18 (Annual Concrete Conference 18) ระหว่างวันที่ 25-27 มกราคม พ.ศ.2567 ณ อาคารอำนวยการ อุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จ.นครราชสีมา 
 
 
 
ทั้งนี้ การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 18 เป็นความร่วมมือระหว่าง สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มทส. และศูนย์วิจัย SIECON-SUT เป็นเวทีทางวิชาการเปิดโอกาสให้ นักวิชาการ วิศวกร หรือผู้ปฏิบัติงานด้านการก่อสร้างคอนกรีตในภาคสนาม นำเสนอบทความวิจัย และบทความวิชาการ รวมถึงการนำเสนอผลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมการก่อสร้างของผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักลงทุน ผู้ประกอบการ สถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมาก่อสร้าง รวมถึงผู้ใช้คอนกรีต ได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมคอนกรีตเพื่อพัฒนาการก่อสร้างในประเทศไทย โดยมีหัวข้อการประชุม ประกอบด้วย เทคโนโลยีโครงสร้างคอนกรีต (STR) เทคโนโลยีคอนกรีตและวัสดุ (MAT) การบำรุงรักษา ซ่อมแซม และเสริมกำลังคอนกรีต (REP) คอนกรีตเพื่อสิ่งแวดล้อม และคอนกรีตเชิงสถาปัตยกรรม (ENA) ผลงานและนวัตกรรมของผู้ประกอบการ (ICM) เทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานคอนกรีตและการก่อสร้าง (RCT) และ Cement and Concrete Composites (CCC) 
 
 
 
พร้อมนี้ ผศ. ดร.ธีรวัฒน์ สินศิริ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มทส. พร้อมคณะนักวิจัย จาก ศูนย์วิจัยนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน หรือ ศูนย์วิจัย SIECON-SUT ได้นำผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีคอนกรีตร่วมจัดแสดงภายในงาน ประกอบด้วย 
1. Lightweight Green Roof (นวัตกรรมสู่ความยั่งยืน) นวัตกรรมหลังคาเย็นสำหรับบ้านพักอาศัย ที่ตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน ที่มีคุณสมบัติพิเศษกว่าหลังคาทั่วไป ในด้านความแข็งแรง น้ำหนักเบา กันร้อน กันเสียง ดูดซึมน้ำต่ำ ราคาประหยัด ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจาก บริษัท เอสซีจี รูฟฟิ่ง จำกัด 
2. เฮมพ์คอนกรีต ( Hemp Concrete ) ผลงานวิจัยของนายศักดิ์สิทธิ์ พันทวี ที่ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำเฮมพ์มาใช้ในงานคอนกรีต โดยการปรับปรุงคุณภาพแกนเฮมพ์ด้วยอลูมิเนียมซัลเฟตและแคลเซียมไฮดรอกไซด์ เพื่อรับรองการปลูกเฮมพ์เป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคต
3. นวัตกรรมคอนกรีตเบา LCC ผลงานวิจัย ของนายอภัย ชาภิรมย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินฟินนิตี้คอนกรีตเทคโนโลยี และเลขานุการ ศูนย์วิจัยนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน SIECON-SUT เพื่อพัฒนาคอนกรีตมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ มาใช้ในการจัดทำ ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในภาควิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ ภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
 
 
---------------

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง