มทส. ติดอันดับ 8 ของไทยที่ตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารที่มีคุณภาพสูง ตามการจัดอันดับของ Nature Index research output

ศูนย์บรรณสาร

มทส. ติดอันดับ 8 ของไทยที่ตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารที่มีคุณภาพสูง ตามการจัดอันดับของ Nature Index research output
(บทความที่ตีพิมพ์ในช่วง 1 ธันวาคม 2021 - 30 พฤศจิกายน 2022)

Nature Index ได้เผยผลการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิทยาศาสตร์คุณภาพสูงในเครือ Nature Research โดยในปีนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ติดอันดับที่ 8 ของประเทศไทย

 

รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ ทองระอา อธิการบดี มทส. เผยว่า จากการประกาศผลการจัดอันดับของ Nature Index research output ที่พิจารณาจากผลการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิทยาศาสตร์คุณภาพสูงในเครือ Nature Research โดยเป็นบทความที่ตีพิมพ์ ช่วงตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2021 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2022 มีจำนวนบทความวิจัยที่มีผู้เขียนเป็นพนักงาน มทส. (Count)ทั้งสิ้น 57 บทความ และมีจำนวนสัดส่วน/ส่วนแบ่งความเป็นเจ้าของบทความที่จัดสรรให้กับสถาบันหรือประเทศ (Share หรือ Fractional Count: FC) เท่ากับ 1.82 ในส่วนของกลุ่มสาขาวิชา มทส. ได้รับการจัดอันดับ 3 กลุ่มสาขาวิชาคือ กลุ่มสาขา Physical Sciences มทส. อยู่ในอันดับที่ 4 ของไทย (FC=1.36) กลุ่มสาขา Chemistry มทส. อยู่ในอันดับที่ 20 (FC=0.27)  ของไทย และกลุ่มสาขา Life Sciences มทส. อยู่ในอันดับที่ 9 (FC=0.28) ของไทย โดยกลุ่มสาขา Physical Sciences มีค่า FC สูงสุดใน 3 กลุ่มสาขาวิชา รายละเอียด
ดังรูปที่ 1 และตารางที่ 1


รูปที่ 1 จำนวนบทความตีพิมพ์และจำนวนสัดส่วน/ส่วนแบ่งความเป็นเจ้าของบทความของ มทส.

 


ตารางที่ 1 ผลการจัดอันดับ Top 10 ของไทยที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารเครือ Nature Research

หมายเหตุ  เรียงอันดับตามค่า Share/FC (Fractional Count)

 

   เมื่อพิจารณาบทความที่มีผู้เขียนเป็นพนักงานมทส. พบว่า สาขา Physical Sciences มีจำนวนสูงสุด 54 บทความ รองลงมาเป็นสาขา Chemistry  และ Life Sciences จำนวน 3 และ 2 บทความตามลำดับ ทั้งนี้ วารสารที่ตีพิมพ์บทความของผู้เขียนที่เป็นพนักงาน มทส. มากที่สุดถึง 21 บทความ คือ Journal of High Energy Physics รองลงมา เป็นวารสาร Physical Review Letter และ European Physical Journal C  ซึ่งตีพิมพ์บทความของผู้เขียนที่เป็นพนักงาน มทส. 18 และ 8 บทความ ตามลำดับ ดังแสดงในตารางที่ 2

 

ตารางที่ 2 จำนวนบทความที่ผู้เขียนเป็นพนักงาน มทส. ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ

 

สำหรับความร่วมมือของผู้แต่ง มทส. กับผู้แต่งอื่น เป็นความร่วมมือในระดับนานาชาติถึงร้อยละ 93.82 แสดงได้ดังรูปที่ 2 

รูปที่ 2 ความร่วมมือของผู้แต่ง มทส. กับผู้แต่งที่เป็นชาวไทยและชาวต่างชาติ

 

 

ความร่วมมือของผู้แต่ง มทส. กับผู้แต่งชาวไทยมีทั้งสิ้น 21 หน่วยงาน โดยมีความร่วมมือกับสถาบันวิทยสิริเมธี หรือ VISTEC มากที่สุด สำหรับความร่วมมือระหว่างผู้แต่ง มทส. กับผู้แต่งชาวไทย 10 อันดับแรก แสดงได้ดังรูปที่ 3

 

รูปที่ 3 ความร่วมมือระหว่างผู้แต่ง มทส. กับผู้แต่งที่เป็นชาวไทย 10 อันดับแรก

 

 

ความร่วมมือระหว่างผู้แต่ง มทส. กับผู้แต่งชาวต่างชาติมีทั้งสิ้น 324 หน่วยงาน โดยมีความร่วมมือกับ Chinese Academy of Sciences (CAS) มากที่สุด สำหรับความร่วมมือระหว่างผู้แต่ง มทส. กับผู้แต่งชาวต่างชาติ 10 อันดับแรก แสดงได้ดังรูปที่ 4

รูปที่ 4 ความร่วมมือระหว่างผู้แต่ง มทส. กับผู้แต่งที่เป็นชาวต่างชาติ 10 อันดับแรก

 

 

“ผลการจัดอันดับในครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่น่ายินดีและน่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง แสดงให้เห็นว่า มทส. มีศักยภาพความเข้มแข็งทางด้านวิชาการ โดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายคงต้องร่วมกันทำงานอย่างหนักต่อไป เพื่อจะสร้างองค์ความรู้ใหม่ในทุกกลุ่มสาขา โดยมุ่งเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพและนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม เพื่อเป็นที่พึ่งของสังคมต่อไป” อธิการบดี มทส. กล่าวในที่สุด

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.nature.com/nature-index/institution-outputs/generate/all/countries-Thailand/all

ส่วนแผนงาน/ส่วนประชาสัมพันธ์ มทส.
21 มีนาคม 2566

 


 

 



ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง