มทส. อยู่ในกลุ่มอันดับที่ 15 ร่วมของไทย กลุ่มอันดับที่ 601-800 ของโลก ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน THE University Impact Rankings 2022

มทส. อยู่ในกลุ่มอันดับที่ 15 ร่วมของไทย กลุ่มอันดับที่ 601-800 ของโลก
ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 THE University Impact Rankings 2022
 

 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2022 (THE University Impact Rankings 2022) อยู่ในกลุ่มอันดับที่ 15 ร่วมของไทย และกลุ่มอันดับที่ 601-800 ของโลก โดยคะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก คือ SDG 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน เป็นอันดับที่ 80 ของโลก อันดับที่ 3 ของไทย รองลงมาคือ SDG 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน เป็นกลุ่มอันดับที่ 101-200 ของโลก เป็นอันดับที่ 4 ของไทย และ SDG 5 ความเท่าเทียมระหว่างเพศ (Gender Equality)  เป็นกลุ่มอันดับที่ 401-600 ของโลก เป็นอันดับที่ 11 ของไทย

 

          รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ ทองระอา อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เผยว่า เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2564 Times Higher Education (THE) สถาบันในการจัดอันดับชั้นนำของโลกจากประเทศอังกฤษ ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2022 (THE University Impact Rankings 2022)” ซึ่งเป็นการประเมินผลและวัดความสำเร็จของมหาวิทยาลัยทั่วโลกในการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ รวม 17 ด้าน

ทั้งนี้ ผลการจัดอันดับในปีนี้ โดยภาพรวม มทส. ได้คะแนนรวม 64.5 คะแนน จัดอยู่ในกลุ่มอันดับที่ 601-800 ของโลก จาก 1,410 มหาวิทยาลัยทั่วโลก และอยู่ในกลุ่มอันดับที่ 15 ของไทย สำหรับคะแนนรวมนี้ เกิดจากผลรวมของคะแนนใน SDG 17 บวกกับอีก 3 SDGs ที่ได้คะแนนสูงสุด ดังรูปที่ 1 ซึ่ง SDG ที่ มทส. ได้คะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก คือ SDG 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production) SDG 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน (Clean Water and Sanitation) และ SDG 5 ความเท่าเทียมระหว่างเพศ (Gender Equality) ผลการจัดอันดับของ มทส. สรุปได้ ดังรูปที่ 2

 

รูปที่ 1 เกณฑ์ในการคำนวณคะแนนรวม

 

รูปที่ 2 ผลการจัดอันดับของ มทส. ปี 2022

 

สำหรับผลการจัดอันดับในปีนี้ SDG ที่ได้ มทส. คะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก มีรายละเอียด ดังนี้

SDG 12 แผนการการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production) เป็นการสร้างหลักประกันให้มีแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน มทส. ได้คะแนนเท่ากับ 78 จาก 100 คะแนน 80 ของโลก จาก 606 สถาบัน เป็นอันดับที่ 3 ของไทย จาก 21 มหาวิทยาลัย และมีคะแนน สูงกว่าปีที่ผ่านมาถึง 5.8 คะแนน  ดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 ผลการจัดอันดับ SDG 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน

 

SDG 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน (Clean Water and Sanitation) เป็นการสร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน (Clean Water and Sanitation)   มทส. ได้คะแนนเท่ากับ 60.5 จาก 100 คะแนน เป็นกลุ่มอันดับที่ 101-200 ของโลก จาก 635 สถาบัน เป็นอันดับที่ 4 ของไทย จาก 15 มหาวิทยาลัย ดังรูปที่ 4

 

รูปที่ 4 ผลการจัดอันดับ SDG 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน

 

SDG 5 ความเท่าเทียมระหว่างเพศ (Gender Equality) เป็นการดำเนินการเพื่อให้เกิดความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคน โดยยุติการกระทำที่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้หญิง การใช้ความรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ และการล่วงละเมิดทางเพศ มทส. ได้คะแนน เท่ากับ 48.1 จาก 100 คะแนน เป็นกลุ่มอันดับที่ 401-600 ของโลก จาก 938 สถาบัน เป็นอันดับที่ 11 ของไทย จาก 17 มหาวิทยาลัย และมีคะแนนสูงกว่าปีที่ผ่านมา 9.0 คะแนน  ดังรูปที่ 5

รูปที่ 5 ผลการจัดอันดับ SDG 5 ความเท่าเทียมระหว่างเพศ (Gender Equality)

 

 

SDG 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships for The Goals) เป็นตัวชี้วัดบังคับในการประเมินของ THE Impact Rankings โดย SDG นี้ เป็นการสร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในภาพรวม มทส. ได้ 51.1 คะแนน อยู่ในกลุ่มอันดับ 601-800 ของโลก จาก 1,441 มหาวิทยาลัย เป็นอันดับที่ 21 ของไทย จาก 52 มหาวิทยาลัย ซึ่งมีคะแนนสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึง 8.7 คะแนน ดังรูปที่ 6

รูปที่ 6 ผลการจัดอันดับ SDG 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

 

 

ในปีนี้ มทส. ส่งข้อมูลให้ THE Impact Rankings พิจารณาเพียง 4 SDGs (SDG 17 บวกกับอีก 3 SDGs) ซึ่งมีผลการจัดอันดับดังรูปที่ 7

 

 

รูปที่ 7 ผลการจัดอันดับของ มทส. ใน SDGs ต่าง ๆ ปี 2022

 

เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินของปี 2021 กับปี 2022  แสดงดังรูปที่ 8 พบว่า ในปี 2022มทส. ได้คะแนนในภาพรวม 64.5 จาก 100 คะแนน อยู่ในกลุ่มอันดับที่ 601-800 ของโลก จาก 1,410 มหาวิทยาลัย โดยเมื่อเปรียบเทียบกับค่ากลาง (Median) ของโลก พบว่า ปี 2022 มี SDGs ทั้ง 3 SDGs (SDG 5, 6 และ 12) มีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยกลางของโลก ในขณะที่ปี 2021 มีเพียง SDG 6 และ SDG 12 เท่านั้น ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก

รูปที่ 8 ผลการจัดอันดับของ มทส. ใน SDGs ต่าง ๆ ปี 2021 และ 2022

 

ในปีนี้ มีมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการจัดอันดับทั้งสิ้น 1,410 แห่ง (ปี 2021 จำนวน 1,115 เพิ่มขึ้น 347 แห่ง) จาก 108 ประเทศทั่วโลก (ปี 2021 จำนวน 94 ประเทศ เพิ่มขึ้น 12 ประเทศ) โดย Western Sydney University จากประเทศออสเตรเลีย ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ของโลก ด้วยคะแนน 99.1 คะแนน รองลงมากเป็น Arizona State University (Tempe) จากประเทศสหรัฐอเมริกาและ Western University จากประเทศแคนนาดา ด้วยคะแนน 98.5 และ 97.8 คะแนน ตามลำดับ

สำหรับประเทศไทย มีมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการจัดอันดับ THE University Impact Rankings 2022 ทั้งสิ้น 52 แห่ง โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับคะแนนการจัดอันดับเป็นอันดับ 1 ของประเทศ อันดับที่ 16 ร่วมของโลก และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และอยู่ในอันดับ 2 ของประเทศ และอยู่ในอันดับที่ 70 ร่วมของโลก รายละเอียดเพิ่มเติม ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ผลการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยไทยใน THE University Impact Rankings 2022

 

“ผลการจัดอันดับของ มทส. ในครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่น่ายินดีและน่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง แสดงให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยได้ตระหนักถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงการมีแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ดูแลสุขภาวะที่ดีสำหรับทุกคนในสังคม นอกจากนี้ SDG 5 ด้านความเท่าเทียมระหว่างเพศ (Gender Equality) ซึ่งได้คะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก ยังเป็นการแสดงออกถึงการตอบรับกับสถานการณ์ในปัจจุบัน มุ่งเน้นสิทธิในความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกันอีกด้วย” อธิการบดีกล่าวในที่สุด

 

 

 

ที่มา:https://www.timeshighereducation.com/rankings/impact/2022/overall#!/page/0/length/25/sort_by/rank/sort_order/asc/cols/undefined

 

ส่วนแผนงานและส่วนประชาสัมพันธ์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

17 มิถุนายน 2565

 

 

 

 


ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง