มทส. เก็บ“ช่อดอกกัญชา” รุ่นแรก พร้อมส่งต่อวัตถุดิบกัญชาคุณภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

มทส. เก็บ“ช่อดอกกัญชา” รุ่นแรก พร้อมส่งต่อวัตถุดิบกัญชาคุณภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เก็บ “ช่อดอกกัญชา” สายพันธุ์ฝอยทองภูผายล รอบการผลิตแรกของปี ตาม“โครงการผลิตกัญชาคุณภาพเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์” พร้อมตรวจสอบคุณภาพไร้สารตกค้างก่อนส่งต่อโรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในลักษณะกัญชาแห้งทั้งใบ ก้าน และดอก กว่า 100 กิโลกรัม เพื่อใช้ผลิตยาสมุนไพรไทย 9 ตำรับเชิงพาณิชย์ เผยเตรียมพัฒนาศึกษาวิจัยสายพันธุ์ เฮมพ์ ที่ให้สาร CBD สูง เพื่อเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจต่อไป


 

     27 สิงหาคม 2563 นางปิยะฉัตร อินสว่าง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ ทองระอา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาเทคโนโลยี มทส. พร้อมคณะผู้บริหาร ผู้แทนผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. นพ.สำเริง แหยงกระโทก ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการสำนักงานจัดการกัญชา กัญชง และกระท่อมทางการแพทย์แผนไทย และอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ร่วมพิธี “เก็บช่อดอกกัญชา มทส. รุ่นแรก” ตามโครงการวิจัย “การผลิตกัญชาเชิงคุณภาพเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์” ณ สวนเกษตรเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา บรมราชกุมารี

 


     รองศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ ทองระอา กล่าวว่า “จากการที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทย ขับเคลื่อนและเตรียมความพร้อมการผลิตกัญชาแพทย์แผนไทยตามนโยบายของรัฐบาล วัตถุประสงค์เพื่อปลูกกัญชา การตรวจสอบคุณภาพ การใช้พื้นที่แปรรูป การวิจัยยาสมุนไพรที่มีกัญชาเป็นส่วนผสม เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพดีสำหรับทำยาสมุนไพรที่ได้คุณภาพและถูกต้องตามมาตรฐานสากล มหาวิทยาลัยจึงได้เริ่มโครงการวิจัย “การผลิตกัญชาเชิงคุณภาพเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์” โดยมี ศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) ดร.นันทกร บุญเกิด เป็นนักวิจัยหลัก ได้มีการวางแผนการผลิต แผนการจําหน่าย และแผนการใช้ประโยชน์ ผ่านความเห็นชอบ รวมทั้งได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามลำดับ ปัจจุบันถือได้ว่า มทส. เป็นสถาบันการศึกษาได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชาเพื่อการวิจัยใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บนพื้นที่ 15 ไร่ ภายในสวนเกษตรเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา บรมราชกุมารี ได้รับอนุญาตปลูกจำนวน 3,360 ต้นต่อรอบการผลิตซึ่งสามารถทำได้สองรอบต่อปี ซึ่งได้ทำการเก็บใบใต้กิ่งหรือใบเพสลาด เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่าน ส่วนครั้งนี้เป็นการเก็บช่อดอก ก่อนส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โรงพยาบาลเครือข่ายกรมการแพทย์แผนไทย พัฒนาต่อยอดผลิตยาสมุนไพรไทยสู่เชิงพาณิชย์ จํานวน 9 ตํารับ คือ ตำรับศุขไสยาศน์ ตำรับทำลายพระสุเมรุ ตำรับยาทาริดสีดวงทวารและโรคผิวหนัง ตำรับยาแก้ลมแก้เส้น ตำรับยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง ตำรับยาแก้ลมเนาวนารีวาโยตำรับยาไพสาลี ตำรับยาอไภยสาลี และตำรับยาแก้นอนไม่หลับ/ยาแก้ไขผอมเหลือง เป็นไปตามแผนการผลิตกัญชาเชิงคุณภาพเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

 


     มหาวิทยาลัยมุ่งหวังให้โครงการวิจัย “การผลิตกัญชาเชิงคุณภาพเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์” เป็นคลัสเตอร์วิจัยที่สำคัญมีส่วนผลักดันเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์สาธารณสุข ให้ประชาชนเข้าถึงกัญชาและสมุนไพรทางการแพทย์ได้อย่างปลอดภัย ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ในการเป็นแหล่งผลิต แหล่งศึกษาวิจัย และแหล่งสร้างองค์ความรู้ด้านกัญชารวมถึงพืชสมุนไพรของประเทศ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ นับตั้งแต่ การพัฒนาสายพันธุ์คุณภาพที่ให้ปริมาณสารสำคัญสูง การสกัดกลั่นสารสำคัญ การสร้างมาตรฐานการผลิต การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ การคิดค้นตำรับยา และผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย พร้อมผลักดันให้แผนกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้ขับเคลื่อนนำผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์สู่การใช้ประโยชน์เพื่อการบำบัดรักษาโรคต่อไป”

 


     ศาสตราจารย์ ดร.หนึ่ง เตียอำรุง คณบดีสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มทส. หัวหน้าโครงการวิจัยฯ เปิดเผยว่า “ทีมนักวิจัยได้เริ่มเพาะเมล็ดพันธุ์กัญชาสายพันธุ์ฝอยทองภูผายล เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563 เป็นเวลา 21 วัน แล้วจึงทำการย้ายต้นกล้ากัญชาลงในกระถางเล็ก เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 ในโรงเรือนเพาะต้นกล้า ขนาด 90 ตารางเมตร รวมเวลาทั้งสิ้น 65 วัน จึงเริ่มเก็บใบกัญชารุ่นแรก ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2563 เป็นใบสดที่สมบูรณ์ คือ ใบที่มีลักษณะ 7 แฉก เป็นใบใต้กิ่งช่วงกลางลำต้น เรียกว่า ใบเพสลาด (ใบ-เพ-สะ-หลาด) และได้ดำเนินการส่งตรวจวิเคราะห์สารตกค้าง และวิเคราะห์สารปนเปื้อน ที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 นครราชสีมา ก่อนนำส่งโรงพยาบาลคูเมือง จ.บุรีรัมย์ เพื่อผลิตยาสมุนไพรไทย 9 ตำรับ และเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2563 ได้รับแจ้งผลการวิเคราะห์ จาก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 นครราชสีมา พบว่าไม่มีสารตกค้าง และไม่พบสารปนเปื้อนในใบกัญชา และในวันนี้ 27 สิงหาคม 2563 จึงได้จัดพิธีเก็บช่อดอกกัญชา มทส. รุ่นแรก เพื่อส่งมอบให้กับโรงพยาบาลคูเมือง จ.บุรีรัมย์ รวมระยะเวลาในการเพาะเมล็ดกัญชาจนถึงเก็บช่อดอกกัญชา รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 103 วัน ซึ่งได้ผลผลิตเป็นใบกัญชาแห้ง น้ำหนัก 42 กิโลกรัม และช่อดอกกัญชาแห้ง น้ำหนักโดยประมาณกว่า 100 กิโลกรัม นอกจากนี้เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ทีมนักวิจัย ได้รับใบอนุญาต ปลูก เก็บเกี่ยวหรือแปรสภาพเฮมพ์ สำหรับการศึกษาวิจัย โดยทีมนักวิจัยจะนำเมล็ดพันธุ์ จากสถาบันวิจัยพื้นที่ราบสูง มาพัฒนาให้มีสาร CBD สูง เพื่อเพิ่มมูลค่า และส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจต่อไป”

ชมภาพกิจกรรม

https://www.facebook.com/sutnews/photos/a.3533602569985777/3533607436651957/?type=3

 

     

">

hümik asit organik sıvı gübre sıvı organik gübre damlama sulama kireç çözücü kalsiyum gübre leonardit sıvı organomineral gübre organik gübre hümik asit organomineral gübre organomineral gübre nedir

Türkiye'nin en kaliteli asyali porno videolarını sitemizden izleyebilirsiniz.


ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง