มทส. ติดท็อป 5 ม.ไทย จากการจัดอันดับ ม.ชั้นนำของโลก โดย THE

มทส. ติดท็อป 5 ม.ไทย จากการจัดอันดับ ม.ชั้นนำของโลก โดย THE

 

     เมื่อวันที่ 11 กันยายน ที่ผ่านมา Times Higher Education (THE) ประเทศอังกฤษ ได้เผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก ประจำปี ค.ศ. 2020 (World University Rankings 2020) อย่างเป็นทางการ  โดยในปีนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) อยู่ในอันดับ 5 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย  และติดกลุ่มอันดับ 1000+ มหาวิทยาลัยชั้นนำโลก ซึ่งแม้ว่าคะแนนในภาพรวมของ มทส. จะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา แต่อันดับระดับโลกลดลง  ทั้งนี้ สาเหตุหนึ่งเนื่องจากมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการจัดอันดับมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

 

     รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เผยว่า จากการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก ประจำปี 2020 หรือ World University Rankings 2020 โดย Times Higher Education หรือ THE สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกชื่อดังจากประเทศอังกฤษ ซึ่งจัดอันดับดังกล่าวเป็นปีที่ 16 ติดต่อกัน ล่าสุดได้ประกาศผลการจัดอันดับ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562 โดยจัดอันดับเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 1,250 อันดับ เป็น 1,400 อันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก และมีมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 86 ประเทศ เป็น 92 ประเทศทั่วโลกที่ได้รับการจัดอันดับ  ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยชั้นนำอันดับ 1 ของโลก ยังคงเป็นของ University of Oxford ประเทศอังกฤษ สำหรับมหาวิทยาลัยของไทยได้รับการจัดอันดับรวมทั้งหมด 16 แห่ง อยู่ในกลุ่ม 601-800 จำนวน 2 แห่ง กลุ่ม 801-1000 จำนวน 1 แห่ง และกลุ่ม 1000+ จำนวน 13 แห่ง โดยมีลำดับคะแนนหลังจากการคูณค่าถ่วงน้ำหนัก ดังนี้

  1. มหาวิทยาลัยมหิดล อันดับที่ 601-800 (คะแนน 34.6)
  2. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง อันดับ 601-800 (คะแนน 34.0)
  3. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันดับที่ 801-1000 (คะแนน 27.1)
  4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อันดับที่ 1000+ (คะแนน 21.3)
  5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อันดับที่ 1000+ (คะแนน 21.2)
  6. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันดับที่ 1000+ (คะแนน 19.6)
  7. มหาวิทยาลัยขอนแก่น อันดับ 1000+ (คะแนน 19.2)
  8. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อันดับที่ 1000+ (คะแนน 17.1)
  9. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันดับ 1000+ (คะแนน 16.8)
  10. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อันดับ 1000+ (คะแนน 16.7)
  11. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันดับที่ 1000+ (คะแนน 16.2)
  12. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อันดับที่ 1000+ (คะแนน 14.9)
  13. มหาวิทยาลัยนเรศวร อันดับที่ 1000+ (คะแนน 14.7)
  14. มหาวิทยาลัยศิลปากร อันดับที่ 1000+ (คะแนน 14.3)
  15. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อันดับที่ 1000+ (คะแนน 14.1)
  16. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ อันดับ 1000+ (คะแนน 13.2)

โดยในภาพรวม อันดับระดับโลก มทส. อยู่ในกลุ่มอันดับ 1000+ เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย และเป็นอันดับ 2 ของมหาวิทยาลัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำดังกล่าว ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด 13 ตัวชี้วัดย่อย พร้อมน้ำหนักในการคำนวณ ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยเป็นเกณฑ์เดียวกันกับการจัดอันดับในปี 2020 ประกอบด้วย

  • การสอน (สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้) มีน้ำหนัก 30%
  • การวิจัย (ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียง) มีน้ำหนัก 30%
  • การอ้างอิง (อิทธิพลของการวิจัย) มีน้ำหนัก 30%
  • ความเป็นนานาชาติ (บุคลากร นักศึกษา การวิจัย) มีน้ำหนัก 7.5%
  • รายได้จากภาคอุตสาหกรรม (การถ่ายโอนความรู้) มีน้ำหนัก 2.5%

 

รูปที่ 1 ตัวชี้วัดของ THE World University Rankings 2020

(ที่มา https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/methodology-world-university-rankings-2020)

 

          จากการเปรียบเทียบคะแนน ปี 2016-2020 พบว่า ในปี 2020 ภาพรวม มทส. มีคะแนนลดลงจากปี 2019 เท่ากับ 2.03 คะแนน เป็นผลมาจากคะแนนด้านการอ้างอิงผลงานวิจัยลดลง เมื่อพิจารณารายด้านย่อย ของ ปี 2020 พบว่า ด้านที่มีคะแนนสูงที่สุดและสูงกว่าปีที่ผ่านมา คือ ด้านรายได้จากภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ คะแนนด้านการวิจัยก็สูงกว่าปีที่ผ่านมาเช่นเดียวกัน ส่วนด้านการเรียนการสอนและด้านความเป็นนานาชาติมีคะแนนเท่ากับปีที่ผ่านมา ดังแสดงในรูปที่ 2

 

 

รูปที่ 2 ผลคะแนนตัวชี้วัดหลัก THE World University Rankings 2016-2020 ของ มทส.

 

 

รูปที่ 3 คะแนนที่ได้ตามตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัยไทยตาม THE World University Rankings 2020

 

 “ผลการจัดอันดับในครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่น่ายินดีและน่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของ มทส. ในการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของไทย ซึ่งตามแนวนโยบาย SUT Re-profile 2020 ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เพราะ มทส. กำลังเข้าสู่ยุคของศตวรรษที่ 21 ยุคของการแข่งขันที่รุนแรง เป้าประสงค์หลักเพื่อมุ่งสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในการผลิตกำลังคนที่มีศักยภาพให้เป็นกำลังและพลังของชาติ สร้างความเป็นเลิศทางการวิจัย มุ่งทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชน สิ่งแวดล้อม และสภาพเศรษฐกิจดีขึ้น ผลิตผลงานวิจัยที่มีผลกระทบสูง สามารถสร้างรายได้ และพัฒนาต่อยอดผลงานวิจัยที่มีศักยภาพสู่เชิงพาณิชย์ เกิดการปรับแปลง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อสังคม” อธิการบดี มทส. กล่าว

 

ส่วนแผนงาน/ส่วนประชาสัมพันธ์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

11 กันยายน 2562

 

tiktok takipçi satın al

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง