มทส. สานต่อความร่วมมือทางด้านดาราศาสตร์กับสถานีวิจัยดาราศาสตร์ชิงหลง

ศูนย์บรรณสาร

มทส. สานต่อความร่วมมือทางด้านดาราศาสตร์กับสถานีวิจัยดาราศาสตร์ชิงหลง

          เมื่อวันอังคารที่ 15 พฤษภาคม 2561 รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) พร้อมด้วยผู้บริหาร ประกอบด้วย ศ.ดร.สันติ แม้นศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนาความเป็นสากล รศ.ดร.อนันต์ ทองระอา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาเทคโนโลยี และคณะ ได้เดินทางเยี่ยมชมสถานีวิจัยดาราศาสตร์ชิงหลง (Xinglong Station) สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี Prof. Xiaojun Jiang ผู้อำนวยการ และคณะนักวิจัยของสถานีวิจัยดาราศาสตร์ชิงหลงให้การต้อนรับและบรรยายสรุปเกี่ยวกับการดำเนินงานวิจัยของสถานีวิจัยดาราศาสตร์ชิงหลงซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2511 และเป็นหนึ่งในสถานีวิจัยภายใต้การกำกับดูแลของ National Astronomical Observatories Chinese Academy of Sciences (NAOC) และการให้บริการกล้องโทรทรรศน์ขนาดต่างๆ จากนั้นได้นำเยี่ยมชมนิทรรศการเกี่ยวกับอุปกรณ์วิจัยทางดาราศาสตร์ และกล้องโทรทรรศน์ขนาดต่างๆ

สถานีวิจัยดาราศาสตร์ชิงหลงเป็นที่ตั้งของกล้องโทรทรรศน์แบบชมิดท์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก Large Sky Area Multi-Object Fiber Spectroscopic Telescope หรือชื่อย่อที่รู้จักกันดีว่า LAMOST กล้องโทรทรรศน์นี้มีกระจกสะท้อนแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5.72 เมตร ซึ่งประกอบจากกระจกย่อยแปดเหลี่ยมขนาด 1.1 เมตรที่ออกแบบมาเป็นพิเศษจำนวน 24 ชิ้น เป็นตัวปรับแก้ความคลาดเคลื่อนของแสงแทนเลนส์ และกระจกปฐมภูมิขนาด 6.67 เมตร ซึ่งประกอบจากกระจกย่อยแปดเหลี่ยมขนาด 1.1 เมตรจำนวน 37 ชิ้น โดยมีเส้นใยนำแสงจำนวน 4000 เส้นอยู่ที่ตำแหน่งโฟกัส เพื่อใช้สำหรับการศึกษาด้วยการวิเคราะห์สเปกตรัมของวัตถุท้องฟ้าในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ ทำให้สามารถสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าได้จำนวนมากในคราวเดียวกัน ทำให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับฟิสิกส์ของดาวฤกษ์  ตลอดจนโครงสร้าง และวิวัฒนาการของกาแลกซีทางช้างเผือกของเรา นอกจากนี้ ยังมีกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงขนาดต่าง ๆ อีกจำนวน 8 ตัว ได้แก่ กล้องโทรทรรศน์ขนาด 2.16 เมตร กล้องโทรทรรศน์สำหรับการวิจัยย่านรังสีอินฟราเรดขนาด 1.26 เมตร กล้องโทรทรรศน์ขนาด 1 เมตร และกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 1 เมตรอีกจำนวน 5 ตัว  สำหรับการวิจัยในทางดาราศาสตร์ เช่น การศึกษาเกี่ยวกับดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ฟิสิกส์ของระบบดาว  และกาแลกซี เป็นต้น  

การเดินทางเยี่ยมชมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสานต่อความร่วมมือในการวิจัยทางดาราศาสตร์ และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ทั้งในด้านการสังเกตการณ์ ทฤษฎี การพัฒนาระบบการเก็บและประมวลผลข้อมูล และการพัฒนาอุปกรณ์วิจัยทางดาราศาสตร์ซึ่งต้องใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือถึงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา การร่วมเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา การพัฒนาหลักสูตรดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ร่วมกัน การจัดอบรมและพัฒนาบุคลากรทางด้านดาราศาสตร์ร่วมกัน รวมทั้งการส่งผู้เชี่ยวชาญจากทั้งสองฝ่ายเพื่อมาเป็นศาสตราจารย์วุฒิคุณหรือผู้เชี่ยวชาญอาคันตุกะระหว่างกันอีกด้วย

 


 

SUT continued its collaboration on astronomy with Xinglong Astronomical Research Station

 

Assoc.Prof.Dr. Weerapong Pairsuwan, Rector of Suranaree Univsersity of Technology (SUT), together with SUT executives visited Xinglong Astronomical Research Station (Xinglong Station) in China on Tuesday 15th May 2018. The SUT executives were welcome by Prof. Xiaojun Jiang, the Director of Xinglong Station, and a team of researchers.

 

Xinglong Station was established in 1968 and was under the supervision of the National Astronomical Observatories Chinese Academy of Sciences (NAOC). Xinglong Station holds the world’s largest Schmidt telescope called Large Sky Area Multi-Object Fibre Spectroscopic Telescope of LAMOST. This telescope’s reflective mirror has the diametre of 5.72 metres, which consists of twenty four specially designed 1.1-metre octagons. These octagons are used to correct the error of the light. The primary mirror of the size 6.67 metres consists of thirty seven 1.1-metre octagon. The telescope had 4,000 fibres at its focus, which are used to analyse the spectrum of objects in the sky at different wave lengths. It means that a large number of objects in the sky can be studied at the same time. In other words, the physics of stars, their structures and evolution of the Milky Way will be possible.

 

Moreover, Xinglong Station owns eight other reflective telescopes. They are a 2.16-metre telescope, a 1.26-metre telescope for infrared-ray research, a 1-metre telescope and five other telescopes that are smaller than 1 metre. All are used for astronomical research, such as the studies of planets outside of the galaxy as well as the physics of stars and galaxies.

 

The purpose of the visit was to continue the collaboration on astronomical research and astrophysics in observation, theories, the development of data collection and processing, and the development of astronomical instruments.

 

SUT and Xinglong Station also discussed the possibility of academic staff exchange, supporting staff exchange, student exchange and the co-supervision of postgraduate theses. Furthermore, the development of curricula in astronomy and astrophysics with visiting professors were also the agenda of the discussion.

 



ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง