มทส. ร่วมประชุม SATU Presidents’ Forum 2022 General Assembly ณ National Cheng Kung University สาธารณรัฐจีน

มทส. ร่วมประชุม SATU Presidents’ Forum 2022 General Assembly บรรยาย หัวข้อ “SUT: Reforms towards a Knowledge – based society" ณ National Cheng Kung University สาธารณรัฐจีน
 
เมื่อวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2565 ศ. ดร.หนึ่ง เตียอำรุง รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และ รศ. ทนพ. ดร.กระจ่าง ตลับนิล รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้เข้าร่วมประชุม SATU Presidents’ Forum 2022 General Assembly ณ National Cheng Kung University สาธารณรัฐจีน จัดขึ้นโดย Presidents' Forum of Southeast and South Asia and Taiwan Universities : SATU ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นสมาชิก และมีสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นสมาชิก จำนวน 101 สถาบันจากบรูไน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม
 
 
 
สำหรับ General Assembly นี้ มีวัตถุประสงค์ให้มหาวิทยาลัยสมาชิก ได้การแลกเปลี่ยนแนว ภายใต้ธีม “Sustainable Alliances: Solutions for Strategic Partnerships in Light of Challenges and Uncertainties” โดยมี panel session ได้แก่ Open Science and Knowledge, Strategic Partnership และ Sustainable Development นอกจากนี้ ยังมีการจัดให้เยี่ยมชม Shalun Smart Green Energy Science City และ Carbon Negative Demonstration Plant
 
 
 
 
 
ในโอกาสนี้ ศ. ดร.หนึ่ง เตียอำรุง รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ได้รับเชิญให้บรรยายในหัวข้อ “SUT: Reforms towards a Knowledge – based society” ใน Panel session: Open Science and Knowledge โดยนำเสนอการปรับตัวของ มทส เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายในปัจจุบัน ด้วยการปรับ  paradigm ให้เหมาะสมและทันสมัย ภายใต้แนวคิดการสร้างสังคมอุดมปัญญา (Knowledge – based society)ทั้งในมิติ Education Platform มทส ได้จัดตั้งสำนักวิชาใหม่ Digital Arts and Sciences ซึ่งมีการจัดทำ Modular based curriculum และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสถานประกอบการ โดยจัดให้มีโครงการ Cooperative and Work Integrated Education (CWIE) เพิ่มหลักสูตรนานาชาติ ภายใต้แนวคิด Global Mindset และให้ความสำคัญในเรื่องของ Impactful Innovation and Entrepreneurship for Society and Economy
 
 
 
 
 
 
 
ในมิติของ Research Platform นั้น มทส ได้ให้ความสำคัญด้านการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมสำหรับ อาหาร วัสดุศาสตร์และพลังงาน การแพทย์และสาธารณะสุข การบริการท่องเที่ยวและ Culture Economy โดยทั้ง 4 ประเด็นได้มีการบูรณาการวิจัยด้าน Digital Technology และ BCG ด้วย นอกจากนี้ มทส ยังให้ความสำคัญของงานวิจัยที่ครบวงจรห่วงโซ่อุปทาน เช่น กัญชา ไก่โคราช โควากิว และ Advanced Nanomaterials for Enhancing Sustainable Energy and Environment (ANSEE) โดยทั้ง 2 platform มีความเชื่อมโยงกัน อีกทั้งสร้างโอกาสและสร้างสังคมอุดมปัญญา ด้วยนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนต่อไปในอนาคต
 

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง