มทส. เจ๋ง ติดอันดับ 4 ม.ไทย จากการจัดอันดับ ม. ชั้นนำของเอเชีย โดย THE

มทส. เจ๋ง ติดอันดับ 4 ม.ไทย จากการจัดอันดับ ม. ชั้นนำของเอเชีย โดย THE

          เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา Times Higher Education (THE) ประเทศอังกฤษ ได้เผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับเอเชีย ประจำปี ค.ศ. 2018 (Times Higher Education Asia University Rankings 2018) 350 อันดับ อย่างเป็นทางการ โดยในปีนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ติดอันดับที่ 168 มหาวิทยาลัยชั้นนำเอเชีย เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ก้าวกระโดดขึ้นอยู่ในกลุ่มท็อป 4 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย จากอันดับ 6 เมื่อปีที่ผ่านมา ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 4 ในปีนี้ ซึ่งจากผลการจัดอันดับจะพบว่า มีมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพียง 4 มหาวิทยาลัยเท่านั้นที่ติดอยู่ใน 200 อันดับแรกของเอเชีย ทั้งนี้ มทส.ยังเป็นมหาวิทยาลัยที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับการจัดอันดับในครั้งนี้ แสดงถึงศักยภาพที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ย้ำภาพความเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยที่พร้อมมุ่ง “Global Vision: Local Missions” สร้างสรรค์ความรู้ คู่เคียงสังคม มุ่งสู่มาตรฐานสากล

          รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เผยว่า "จากการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับเอเชีย ประจำปี 2018 หรือ Times Higher Education Asia University Rankings 2018 โดย Times Higher Education หรือ THE สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกชื่อดังจากประเทศอังกฤษ ซึ่งจัดอันดับดังกล่าวเป็นปีที่ 14 ติดต่อกัน ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 ได้ประกาศผลการจัดอันดับ 350 มหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย โดยมีมหาวิทยาลัยจาก 25 ประเทศทั่วเอเชียได้รับการจัดอันดับในครั้งนี้ โดยมหาวิทยาลัยชั้นนำอันดับ 1 ของเอเชีย ยังคงเป็นของ National University of Singapore ประเทศสิงคโปร์ สำหรับมหาวิทยาลัยของไทยมีมหาวิทยาลัยไทยเพียง 10 แห่งที่ติดอันดับในครั้งนี้ และ 4 ใน 10 แห่ง ที่ติดท็อป 200 มหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย  โดยมีลำดับตามการคูณค่าคะแนนถ่วงน้ำหนัก ดังนี้

1.       มหาวิทยาลัยมหิดล อันดับที่ 97

2.       มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อันดับที่ 114

3.       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันดับที่ 164

4.       มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อันดับที่ 168      

5.       มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันดับที่ 201-250

6.       สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อันดับที่ 201-250

7.       มหาวิทยาลัยขอนแก่น อันดับที่ 251-300

8.       มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อันดับที่ 251-300

9.       มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันดับที่ 251-300

10.   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ อันดับที่ 301-350

          สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชียแตกต่างจากเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกเล็กน้อย ในส่วนของน้ำหนักตัวชี้วัดหลักและตัวชี้วัดย่อยด้านการสอน การวิจัย และรายได้จากภาคอุตสาหกรรม โดยประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัดหลักและ 13 ตัวชี้วัดย่อย พร้อมน้ำหนักในการคำนวณ ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยเป็นเกณฑ์เดียวกันกับการจัดอันดับในปี 2017 ประกอบด้วย

-    การสอน (สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้) มีน้ำหนัก 25%
-    การวิจัย (ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียง) มีน้ำหนัก 30%
-    การอ้างอิง (อิทธิพลของการวิจัย) มีน้ำหนัก 30%
-    ความเป็นนานาชาติ (บุคลากร นักศึกษา การวิจัย) มีน้ำหนัก 7.5%
-    รายได้จากภาคอุตสาหกรรม (การถ่ายโอนความรู้) มีน้ำหนัก 7.5%

รูปที่ 1 ตัวชี้วัดของ Times Higher Education Asia University Rankings 2018
(ที่มา https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/asia-university-rankings-2017-methodology)

           ทั้งนี้ มทส. ได้รับการจัดอันดับสูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศ โดยมีคะแนนรวมจาก 5 ตัวชี้วัด เท่ากับ 25.9 ประกอบด้วย ด้านสิ่งแวดล้อมในการเรียนการสอน (26.1) ด้านชื่อเสียงด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย ทุนวิจัย และจำนวนงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาจากฐานข้อมูล Scopus (12.6) ด้านสัดส่วนจำนวนการอ้างอิงต่อผลงานวิจัย ต่องานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา จากฐานข้อมูล Scopus (33.6) ด้านภาพรวมความเป็นนานาชาติ (40.6) และด้านความสามารถของมหาวิทยาลัยในการมีส่วนช่วยภาคอุตสาหกรรมฯ (32.2)

           และเมื่อเทียบกับผลการจัดอันดับในปีที่ผ่านมา พบว่า มทส. ได้รับคะแนนสูงขึ้นใน 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ การสอน (สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้) การอ้างอิง (ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียง) รายได้จากภาคอุตสาหกรรม (การถ่ายโอนความรู้) และความเป็นนานาชาติ (บุคลากร นักศึกษา การวิจัย) ซึ่งสะท้อนถึงคุณภาพของการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยที่ได้มาตรฐานสากล และศักยภาพของคณาจารย์และบุคลากรในมหาวิทยาลัยในการผลิตผลงานวิจัยคุณภาพสูง และการปรับแปลงถ่ายทอดเทคโนโลยีและการบริการวิชาการสู่ชุมชนของมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี

รูปที่ 2 คะแนนที่ได้ตามตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัยไทยตาม Times Higher Education Asia University Rankings 2018

 

         “ผลการจัดอันดับในครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งที่น่ายินดีและน่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง แสดงให้เห็นว่า มทส. มีศักยภาพความเข้มแข็งทางด้านวิชาการในระดับสากล อย่างไรก็ตามทุกฝ่ายคงต้องร่วมกันทำงานอย่างหนักต่อไป เพื่อการขึ้น Slope  ของ S-Curve ตัวใหม่ ที่แสดงถึงความสำเร็จที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ก้าวสู่ความสำเร็จในการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของไทย ที่พร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นแหล่งสร้างสรรค์ความรู้คู่เคียงสังคม มุ่งสู่มาตรฐานสากล สร้างคนสร้างนวัตกรรม ผลิตบัณฑิตพร้อมทำงาน ที่มีความรู้ในวิชาชีพตรงตามความต้องการตลาดแรงงาน และสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อเป็นที่พึ่งของสังคมต่อไป” อธิการบดี มทส. กล่าวในที่สุด

 

ข้อมูลเพิ่มเติม ที่ https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/2018/regional-ranking

belugabahisbahisbtcholiganbetgrbetsdopingbet

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง