อธิการบดี มทส. เปิดปฐมบท “หนึ่งทศวรรษ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน”

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ได้รับเชิญจากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  แสดงปฐกถาพิเศษ  “ปฐมบท : จากโครงการแสงสยาม สู่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน”  ในกิจกรรมฉลอง “หนึ่งทศวรรษ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน”  เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาจากแนวความคิดที่จะสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนขึ้นในประเทศไทยนั้นเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2536 โดยสภาวิจัยแห่งชาติได้เล็งเห็นความสำคัญของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีอันเป็นฐานสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ  และความภาคภูมิใจในฐานะนักฟิสิกส์ไทยที่มีส่วนในการติดตั้งเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ซึ่งได้รับมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยผ่านความเห็นจากรัฐบาลในขณะนั้นให้ดำเนินโครงการแสงสยาม ภายใต้ชื่อศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้อาคารสุรพัฒน์ 3 ในบริเวณเทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา  
กระทั่งเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ที่มีวงกักเก็บอิเล็กตรอนระดับพลังงาน 1,000 ถึง 1,300 ล้านอิเล็กตรอนโวลท์ ได้ถูกติดตั้ง เกิดการระดมผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ทั้งภายใน และต่างประเทศ กระทั่งสามารถเปิดให้บริการแสงซินโครตรอนแก่นักวิจัย และหน่วยงานต่างทั้งในและต่างประเทศ เกิดการพัฒนา กำลังคนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีขั้นสูง ได้สร้างสรรค์องค์ความรู้ และเทคโนโลยีหลากหลายแขนง ถึงปัจจุบัน ภายใต้ชื่อ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ที่สร้างภาคภูมิใจให้เหล่านักวิทยาศาสตร์ไทยอย่างที่เห็น” เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมเซนทราแกรนด์ กรุงเทพมหานคร 
ในโอกาสนี้ อาจารย์ พันโท นายแพทย์บุระ สินธุภากร รองคณบดีฝ่ายบริหาร สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้รับเชิญร่วมนำเสนอ “การใช้เทคนิคแสงซินโครตรอนทางการแพทย์” ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่ประยุกต์ใช้แสงซินโครตรอนเกี่ยวกับสำหรับผู้ป่วยเกี่ยวด้านกระดูก ตามความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ให้บริการภายในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นการบรรยายร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศจากหลายสาขาวิชาอีกด้วย 

 


ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง